คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงนึกภาพออก ถึงวันที่เจ้าตัวน้อยทำท่าฮึดฮัด หน้ายุ่ง บ้างก็แสดงอาการขัดใจ ด้วยว่าทำอย่างไร
พ่อแม่ก็ไม่เข้าใจหนูเสียที ฝ่ายพ่อแม่ก็รู้สึกว่า ลูกส่งเสียง “อื้อ ๆ ๆ” อยู่นั่น ต้องการอะไรกันนะ หาอะไรมาให้ก็ไม่ถูกใจสักอย่าง ความยุ่งยากในการสื่อสารนี้ คงเริ่มคลีี่คลายลงในวันที่ลูกโตพอจะเริ่มหัดพูด ส่งจูบเป็น ออกมายืนส่งคุณพ่อก็โบกมือบ๊ายบายได้ เจอญาติผู้ใหญ่ก็เริ่ม “ธุจ้า” ฯลฯ
แต่ยังมีอีกหนึ่งหนทางให้พ่อแม่สามารถเข้าใจเด็ก ๆ และสอนให้เด็ก ๆ สื่อสาร เพื่อบอกถึงความต้องการของตนเองได้ตั้งแต่ยังเล็ก ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้อาการขัดอกขัดใจมีน้อยลง แต่ยังเป็นการเพิ่มคำศัพท์ในสมองของลูกได้อีกต่างหาก นั่นก็คือการสอนให้เด็กใช้สัญลักษณ์ท่าทางแทนการสื่อความหมาย
“ในเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถสื่อสารโดยการพูดได้นั้น การสื่อสารโดยใช้ภาษาธรรมชาติ หรือก็คือการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง กระทั่งการใช้ตำแหน่งมือและการเคลื่อนไหว เพื่อการสื่อสารบอกถึงความต้องการของคน ๆ นั้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้เด็กสามารถสื่อสารกับผู้ปกครองได้” คุณจิ๊บ – ชามาภัทร สิทธิอำนวย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพลย์แอนด์มิวสิก เจ้าของลิขสิทธิ์ จิมโบลี ประเทศไทย กล่าว
“หากเราสามารถสอนให้เด็ก ๆ รู้จักสื่อสาร บอกความรู้สึกความต้องการของตนเองผ่านภาษาท่าทาง ก็จะช่วยให้ผู้ใหญ่ และเด็กสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจมากขึ้น
แถมยังช่วยให้สมองเด็กมีการพัฒนา มีการเชื่อมโยงของเซลล์สมองมากขึ้น เพราะเขาจะมีการจดจำคำศัพท์ต่าง ๆ ได้มากกว่าด้วยค่ะ”
ทั้งนี้ คุณชามาภัทรกล่าวด้วยว่า การสอนคำศัพท์ผ่านการแสดงออกของท่าทางอาจแบ่งได้ตามความจำเป็นใช้งานของเด็ก ๆ เช่น ศัพท์สำหรับการรับประทานอาหาร, ศัพท์สำหรับการอาบน้ำ, ศัพท์สำหรับการแต่งตัว, ศัพท์สำหรับการไปเที่ยวนอกสถานที่ ฯลฯ เป็นต้น ยกตัวอย่างคำศัพท์ง่าย ๆ ที่สามารถแสดงออกผ่านสัญลักษณ์ท่าทางได้ เช่น คำว่า “ง่วงนอน” ผู้ปกครองสามารถทำท่าง่วงนอนโดยการประกบมือสองข้าง วางไว้ที่บริเวณต้นคอ แล้วเอียงใบหน้าลงมาซบกับมือ พร้อม ๆ กับหลับตา
นอกจากนี้ คุณชามาภัทรได้ยกตัวอย่างของ Dr. Acrodolo Acredolo นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียผู้แต่งหนังสือเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก หลายเล่ม โดย ดร. Acrodolo นั้น สังเกตเห็นว่าลูกของตน (Kate) ขณะที่อายุได้ 12 เดือน มีการทำท่าทางต่างๆ ที่สามารถสื่อสารกับผู้ใหญ่ได้ เช่น เคทวิ่งไปที่ตู้ปลาในคลีนิคหมอ และทำท่าเหมือนเป่าเทียน
หรือชี้ไปที่ดอกกุหลาบในสวน และทำท่าดม นั่นจึงเป็นที่มาของงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ชื่อว่า “Symbolic Gesturing in Language Development” จากนั้นได้ขยายผลไปสู่การทดสอบศักยภาพเด็กในวงกว้าง ซึ่งก็พบว่า เด็ก ๆ พยายามแสดงท่าทางต่าง ๆ เพื่อสื่อสารกับผู้ใหญ่อยู่เช่นกัน
“การสอนให้ลูกใช้ท่าทางในการสื่อความหมายที่ถูกวิธีนั้น ต้องทำพร้อม ๆ กับการพูดคำศัพท์นั้น ๆ ข้อดีก็คือ ทำให้เด็กได้ยินคำศัพท์บ่อยขึ้นกว่าปกติ เป็นการกระตุ้นให้เด็กเห็นพลังแห่งการสื่อสาร และพร้อมที่จะสื่อสารด้วยทุกวิธีที่สามารถทำได้ ซึ่งที่จิมโบลีเราเรียกว่า BabySign แต่ก็มีความเข้าใจผิดว่า ถ้าเด็กสื่อสารด้วยวิธีดังกล่าวแล้วจะทำให้พูดช้าลง
นั่นอาจเป็นเพราะเกิดความเข้าใจผิดจากการนำไปเปรียบเทียบกับการใช้ภาษามือ ของคนที่มีปัญหาในการพูด ซึ่งมักมีปัญหาพื้นฐานจากความผิดปกติในการฟังมากกว่าค่ะ”
อย่างไรก็ดี การสอนให้ลูกเล็กใช้สัญลักษณ์ท่าทางจะดีต่อเด็กที่สุดนั้นก็ต่อเมื่อ พ่อแม่สังเกตเห็นว่าเด็กเริ่มสนใจอะไรบางอย่าง แล้วเค้ามองมาที่เรา หรือส่งสัญญาณอะไรบางอย่างมาว่าเค้าอยากรู้จักเจ้าสิ่งนั้น และอย่าลืมว่าต้องออกเสียงด้วย ให้เด็กได้รู้จักทั้งภาษาท่าทางและเสียง เพื่อให้ลูกน้อยได้จดจำ และเมื่อไรที่เค้าพร้อม เชื่อว่าเขาจะแสดงท่าทางนั้น ๆ ออกให้เห็นแน่นอน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ในบล็อกน้องแก้มหอม
แม่ลูกผูกพัน
แก้มหอม รรรมิลรรภ์
หนึ่งเดียวในโลก หากจะถามว่า ทำไมตั้งชื่อลูกแบบนี้ ก็ไม่มีคำตอบ ถามต่อว่า ชื่อนี้แปลว่าอะไร ผมก็ไม่ได้สนใจคำแปล รู้แต่ว่าชื่อนี้ดี
พัฒนาการลูกรัก
สานสายใยรักแห่งครอบครัว
สมเด็จพระบรมโอร สาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้า วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์
พัฒนาการลูกรัก
การศึกษาไม่ทำให้คนฉลาดขึ้น
อ่านข่าวเรื่อง อากงส่ง sms ก็สะเทือนใจ ยิ่งหนักเข้าไปอีกก็คงเป็นคนที่ยังมีชีวิตอยู่ใช้คนตายเป็นเครื่องมือเพื่อหวังประโยชน์ไม่ว่าจะด้วยทางใด
ครรภ์คุณแม่
ภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง
คุณผู้หญิงหลายๆ ท่านที่ต้องการมีบุตรแต่มีปัญหาเนื่องจากเป็นโรคต่างๆ ที่มีปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิด ภาวะมีบุตรยาก นั้น
พัฒนาการลูกรัก
น้องแก้มหอม เข้าเรียนอนุบาลแล้วนะ
น้องแก้มหอม เพิ่งจะเข้าเรียนที่โรงเรียนอรุณฉายวิเทศศึกษา เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2559 เริ่มเรียนไปได้ประมาณ 1 เดือนแล้ว
แม่ลูกผูกพัน
น้องสาวชื่อ แก้มหอม
หลังจากที่คุณแม่คลอดพี่เปรมมาก่อนกำหนดเพราะท้องแค่ 7-8 เดือน